4_Kikoe Intervention - Laughing baby.jpg

การช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน

การได้ยินของลูกสามารถส่งผลต่อการพัฒนาทักษะด้านภาษา การเรียนรู้ และทักษะทางสังคม การช่วยให้ลูกได้ยินเสียงตั้งแต่ระยะแรกเริ่มสามารถช่วยให้พวกเขาดึงศักยภาพสูงสุดของตนเองออกมาได้1-3

การสูญเสียการได้ยินในวัยเด็ก

การสูญเสียการได้ยินในวัยเด็ก

มีเด็กกว่า 34 ล้านคนทั่วโลกที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน4 และผู้ปกครองมากมายกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน เพื่อค้นหาตัวเลือกในการรักษา รวมถึงความช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มที่สามารถทำได้

เด็กได้ยินจากเสียงที่ผ่านเข้าไปในหู แต่การจะฟังให้เข้าใจได้นั้น จะต้องใช้สมองในการตีความหมาย การส่งแรงกระตุ้นที่จำเป็นให้สมองของเด็กตั้งแต่วันนี้ จึงเป็นการเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้การพูด ภาษา และการเข้าสังคม1-3, 5-8

SG-Helpkidshear-2.jpg

การสูญเสียการได้ยินในวัยเด็ก

มีเด็กกว่า 34 ล้านคนทั่วโลกที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน4 และผู้ปกครองมากมายกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน เพื่อค้นหาตัวเลือกในการรักษา รวมถึงความช่วยเหลือในระยะแรกเริ่มที่สามารถทำได้

เด็กได้ยินจากเสียงที่ผ่านเข้าไปในหู แต่การจะฟังให้เข้าใจได้นั้น จะต้องใช้สมองในการตีความหมาย การส่งแรงกระตุ้นที่จำเป็นให้สมองของเด็กตั้งแต่วันนี้ จึงเป็นการเตรียมสมองให้พร้อมสำหรับการเรียนรู้การพูด ภาษา และการเข้าสังคม1-3, 5-8

การสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด

การสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด

ทราบหรือไม่ว่าการตรวจคัดกรองการได้ยินสามารถช่วยค้นหาภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากการสูญเสียการได้ยินเป็นภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดที่โรงพยาบาลจึงช่วยให้ทราบถึงความสามารถในการได้ยินของลูก 

การตรวจพบและให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม สามารถช่วยให้ลูกได้รับการรักษาที่จำเป็น เพื่อสร้างทักษะทางการพูดและภาษาที่พวกเขาต้องการ

SG-Helpkidshear_Tender kiss on baby fingers.jpg

การสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิด

ทราบหรือไม่ว่าการตรวจคัดกรองการได้ยินสามารถช่วยค้นหาภาวะสูญเสียการได้ยินของทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด เนื่องจากการสูญเสียการได้ยินเป็นภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกเกิดที่โรงพยาบาลจึงช่วยให้ทราบถึงความสามารถในการได้ยินของลูก 

การตรวจพบและให้การรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม สามารถช่วยให้ลูกได้รับการรักษาที่จำเป็น เพื่อสร้างทักษะทางการพูดและภาษาที่พวกเขาต้องการ

ประสาทหูเทียมสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงภาวะหูหนวก

ประสาทหูเทียมสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงภาวะหูหนวก

เครื่องช่วยฟังทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังขึ้น จึงเป็นตัวช่วยที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง อย่างไรก็ตาม หากเด็กสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงภาวะหูหนวก เครื่องช่วยฟังก็อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เด็กได้ยินเสียงอย่างชัดเจน⁸

ในกรณีดังกล่าว การใช้ประสาทหูเทียมอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า ประสาทหูเทียมจะถูกฝังอยู่ในหูชั้นในเพื่อทำหน้าที่กระตุ้นเส้นประสาทการได้ยินโดยตรง ช่วยให้เด็กได้ยินเสียงในระดับที่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้ภาษาและการพูด²

ความแตกต่างระหว่างเครื่องช่วยฟังกับประสาทหูเทียม

ประสาทหูเทียมสำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงภาวะหูหนวก

เครื่องช่วยฟังทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังขึ้น จึงเป็นตัวช่วยที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่สูญเสียการได้ยินในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง อย่างไรก็ตาม หากเด็กสูญเสียการได้ยินในระดับรุนแรงถึงภาวะหูหนวก เครื่องช่วยฟังก็อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เด็กได้ยินเสียงอย่างชัดเจน⁸

ในกรณีดังกล่าว การใช้ประสาทหูเทียมอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า ประสาทหูเทียมจะถูกฝังอยู่ในหูชั้นในเพื่อทำหน้าที่กระตุ้นเส้นประสาทการได้ยินโดยตรง ช่วยให้เด็กได้ยินเสียงในระดับที่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้ภาษาและการพูด²

การให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีภาวะสูญเสียการได้ยิน

พ่อแม่ที่มีบุตรซึ่งสูญเสียการได้ยิน ได้แบ่งปันประโยชน์ของการให้ความช่วยเหลือตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม รวมถึงทักษะทางภาษาของลูกที่พัฒนายิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการรักษาภาวะสูญเสียการได้ยินให้กับลูกตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

1

พัฒนาทักษะทางภาษาได้ดีกว่า

ยิ่งเด็กได้รับการรักษาการสูญเสียการได้ยินเร็วเท่าใด ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะสามารถพัฒนาทักษะทางภาษาได้ดีมากขึ้นเท่านั้น⁴

2

เรียนรู้ภาษาพูด

เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาพูดได้ดีกว่า หากได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมตั้งแต่อายุยังน้อย¹

3

เข้าเรียนในโรงเรียนภาคปกติ

80% ของเด็กที่ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมก่อนอายุ 18 เดือน สามารถเข้าเรียนในโรงเรียนภาคปกติได้5

พัฒนาการด้านการฟังของลูก

พัฒนาการด้านการฟังของลูก

พัฒนาการด้านการฟังของลูกในช่วง 24 เดือนแรกจะช่วยให้คุณเข้าใจความก้าวหน้าด้านการฟังของลูกในแต่ละเดือน

ลูกของคุณมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงดังใช่หรือไม่ คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือติดต่อเราได้หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับการได้ยินของลูก

 

KR_Helpkidshear_Toddler and Mum clapping.jpg

พัฒนาการด้านการฟังของลูก

พัฒนาการด้านการฟังของลูกในช่วง 24 เดือนแรกจะช่วยให้คุณเข้าใจความก้าวหน้าด้านการฟังของลูกในแต่ละเดือน

ลูกของคุณมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงดังใช่หรือไม่ คุณสามารถปรึกษาแพทย์หรือติดต่อเราได้หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับการได้ยินของลูก

 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ

การรักษาการได้ยินและการใช้อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเท่านั้น อาจได้ผลลัพธ์แตกต่างออกไป และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณจะแนะนำคุณเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ ปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้งานเสมอ ผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีในบางประเทศเท่านั้น กรุณาสอบถามรายละเอียดจากตัวแทนจำหน่าย Cochlear ในพื้นที่ใกล้เคียงสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์


มุมมองที่แสดงออกมาเป็นมุมมองของแต่ละบุคคล ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพของคุณเพื่อตรวจสอบว่าการได้ยินของคุณเหมาะกับเทคโนโลยี Cochlear หรือไม่


พัฒนาการด้านการฟังของลูกในช่วง 24 เดือนแรก และตัวอย่างวิธีการเล่นกับลูก เป็นเพียงแนวทางแนะนำและไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ในการวินิจฉัยหรือใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์แต่อย่างใด โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินเพื่อการทดสอบการได้ยินสำหรับบุตรของคุณ


สำหรับรายการเครื่องหมายการค้าของ Cochlear ฉบับสมบูรณ์ โปรดไปที่หน้าข้อกำหนดในการใช้งาน ของเรา


การอ้างอิง

  1. Ching TYC, Dillon H, Leigh G, Cupples L. Learning from the Longitudinal Outcomes of Children with Hearing Impairment (LOCHI) study: summary of 5-year findings and implications. Int J Audiol (2018 May); 57(sup2).
  2. Ching TYC and Dillon H. Major Findings of the LOCHI study on children at 3 years of age and implications for audiological management. Int J Audiol (2013 Dec); 52:sup2, S6-S68.
  3. Ching TYC, Dillon H, Button L, Seeto M, Van Buynder P, Marnane V, Cupples, L, Leigh G. Age at Intervention for Permanent Hearing Loss and 5-Year Language Outcomes. Pediatrics. (2017 Sep); 140(3).
  4. 10 facts about deafness [Internet (อินเทอร์เน็ต)]. World Health Organization; (2018), [อ้างเมื่อ 5 ตุลาคม 2018] เข้าถึงได้ที่: http://www.who.int/features/factfiles/deafness/en/
  5. Semenov, YR, Yeh, ST, Seshamani, M, Wang, N-Y, Tobey, EA, Eisenberg, LS, Quittner, AL, Frick, KD, Niparko, JK, CDaCI Investigative Team. Age-Dependent Cost-Utility of Pediatric Cochlear Implantation. Ear Hear. (2013 Feb); 34(4):402-412.
  6. Sarant JZ, Harris DC, Galvin KL, Bennet LA, Canagasabey M, Busby PA. Social development in children with early cochlear implants: normative comparisons and predictive factors, including bilateral implantation. Ear Hear. (2018 Jul/Aug); 39(4):770-782.
  7. Geers AE and Nicholas JG. Enduring advantages of earlier cochlear implantation for spoken language development. J Speech Lang Hear Res. (2013 Apr); 56(2).
  8. Cox, R. M., Alexander, G. C., Johnson, J., & Rivera, I. (2011). Cochlear dead regions in typical hearing aid candidates: prevalence and implications for use of high-frequency speech cues. Ear and hearing, 32(3), 339–348. doi:10.1097/AUD.0b013e318202e982.